EP.6 Big Data และการวิเคราะห์ข้อมูล (Big Data & Analytics) : เจนบรรเจิด (Jenbunjerd) ผู้นำด้านการผลิต จัดจำหน่าย และส่งออกอุปกรณ์จัดเก็บยกย้ายที่มีความหลากหลาย

Contact Info

  • 359 Bondstreet Rd.(Chaengwattana 33), Bangpood, Pakkred, Nonthaburi 11120 Thailand
  • info@jenbunjerd.com
  • 02-096-9898 (200 คู่สาย)
<p>EP.6 Big Data และการวิเคราะห์ข้อมูล ขุมทรัพย์ชั้นเยี่ยมของคลังสินค้า</p>

EP.6 Big Data และการวิเคราะห์ข้อมูล ขุมทรัพย์ชั้นเยี่ยมของคลังสินค้า

Big Data และการวิเคราะห์ข้อมูล (Big Data & Analytics)


การนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในคลังสินค้าก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ช่วยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มกำไรให้กับบริษัท แต่ก่อนที่จะทราบว่าจะนำระบบอัตโนมัติเข้ามาปรับปรุงในส่วนงานใด ข้อมูลคือตัวช่วยการตัดสินใจที่มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะข้อมูลที่ได้จากเครื่องจักรและการทำรายการต่างๆในคลังสินค้า เช่น การใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ตบันทึกแต่ละขั้นตอนการทำงานลงในระบบ ตั้งแต่การเบิกจ่ายไปจนถึงการจำหน่ายออก ในคลังสินค้ามีข้อมูลซ่อนอยู่มากมายและหลากหลาย และเป็นที่คุ้นเคยในชื่อ “Big Data” ซึ่งถือเป็นขุมทรัพย์ชั้นเยี่ยมของคลังสินค้า แม้ว่าจะไม่สามารถแปลงเป็นการตัดสินใจได้ทันที และดูเหมือนเป็นการงมเข็มในมหาสมุทร แต่ก็มีโอกาสที่จะเจอขุมทรัพย์ในการลดต้นทุนก็เป็นได้ ดังนั้นจึงต้องนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อช่วยให้เห็นถึงขั้นตอนที่ล่าช้าหรือซ้ำซ้อน จึงจะสามารถนำระบบอัตโนมัติเข้ามาช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานได้ตรงจุด ตอบโจทย์และคุ้มค่า 

 

 

อย่างไรก็ตาม การรวมศูนย์ข้อมูลและการนำ Big Data มาใช้งาน รวมทั้งการกำหนด KPI และพิจารณาว่าจะนำ AI มาช่วยปรับปรุงการทำงานได้อย่างไร ยังถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่งยวดของคลังสินค้า ซึ่งระบบ IoT จะสามารถช่วยในเรื่องนี้ได้ โดยการเพิ่มช่องทางการเก็บข้อมูลใหม่ๆ และจะช่วยให้ปริมาณข้อมูลที่ผู้บริหารคลังสินค้าจะได้รับและนำมาวิเคราะห์มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย โดยรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น การวิเคราะห์แบบพยากรณ์ (Predictive Analytics) จะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลการทำงานในคลังสินค้าหลายๆมิติ จากข้อมูลที่เก็บมาได้จะช่วยให้ผู้จัดการคลังเข้าใจถึงการเคลื่อนที่ของคน สินค้าคงคลัง และอุปกรณ์ต่างๆในคลังสินค้า ข้อมูลที่ถูกย่อยออกมาแล้วสามารถนำไปแสดงเป็นรูปภาพหรือแผนภูมิที่ดูเข้าใจง่าย ช่วยให้การตัดสินใจทำได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากขึ้น และสามารถเปลี่ยนการทำงานเป็นอัตโนมัติได้อย่างแท้จริง เช่น

 

  • การคาดการณ์ยอดขาย
  • การวางแผนตำแหน่งในการจัดเก็บสินค้า
  • การวางแผนเส้นทาง
  • การพยากรณ์สินค้าคงคลัง
  • การพิจารณามูลค่าสินค้าที่ควรสต็อก
  • การบริหารความเสี่ยง โดยเฉพาะกับบริษัทที่มีคู่ค้าจำนวนมากๆ
  • ช่วยแก้ไขปัญหาในด้านห่วงโซ่อุปทาน
  • บริหารอุปสงค์จากช่องทางการจัดจำหน่ายต่างๆ
  • การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้านต่างๆในคลังสินค้า

 

ระบบ IoT จะเป็นนวัตกรรมใหม่ที่คลังสินค้าจะนำมาใช้งานในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และจะช่วยพลิกโฉมการทำงานในคลังสินค้าครั้งใหญ่ในอนาคตอันใกล้ ซึ่งนวัตกรรมนี้จะเป็นตัวช่วยให้คลังสินค้าสามารถแตกย่อยออกเป็นคลังสินค้าขนาดเล็กๆที่อยู่ใกล้กับลูกค้ามากขึ้น ลดการคอขวด เพิ่มความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้า และทำให้ระบบห่วงโซอุปทานยั่งยืนมากขึ้นในระยะยาว

 

 

*สื่อโฆษณา/ชิ้นงาน ข้อความในบทความนี้ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของ บริษัท เจนบรรเจิด จำกัด ผู้ใดละเมิดจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

The commercial, including articles and artworks shown is an intellectual property of Jenbunjerd Co.,Ltd.
Unauthorized reproduction is prohibited and may subject to criminal prosecution.