
5 ข้อที่จะช่วยให้คุณเลือกมือจับแบบสุญญากาศที่ตอบโจทย์ มาดูกันเลย!
มือจับแบบสุญญากาศ (Vacuum Gripper) เป็นมือจับที่ใช้งานได้หลากหลายครอบคลุมความต้องการมากที่สุด มีการใช้งานตั้งแต่สินค้าขนาดเล็กไปจนถึงของชิ้นใหญ่ ทั้งยังรองรับทั้งกล่อง และถุงที่รูปทรงไม่คงที่ มือจับชนิดนี้จึงมี option ที่หลากหลายมาก ทำให้การเลือกมือจับเป็นเรื่องที่สำคัญและยากที่สุดเรื่องหนึ่งในการตัดสินใจซื้อ Robotic Palletizer วันนี้เรามีขั้นตอน 5 ข้อที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกได้ง่ายขึ้น
1. รุบะความต้องการให้ชัดเจนว่าเราต้องการอะไรจาก Robotic Palletizer กันแน่
- เพื่อเพิ่ม throughput?
- เพื่อให้คนงานสามารถไปทำงานอื่นได้?
- เพื่อปรับปรุงคุณภาพชิ้นงานให้มีความสม่ำเสมอ?
2. ทำไมต้องใช้มือจับแบบสุญญากาศ งานที่เหมาะกับมือจับแบบสุญญากาศได้แก่
- งานที่ต้องการความเร็วสูงในการหยิบจับและจัดวาง เมื่อมีการตั้งค่าอย่างถูกต้อง มือจับสุญญากาศจะมีวงรอบการทำงานที่รวดเร็วมาก
- งานที่ต้องการการหยิบจับที่นุ่มนวล ส่วนของมือจับที่สัมผัสกับชิ้นงานก็คือถ้วยดูด จึงแทบไม่มีแรงกระทำต่อพื้นผิวของชิ้นงานเลย จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะที่สุดสำหรับชิ้นงานที่มีความบอบบาง อย่างอาหารและอิเล็กทรอนิกส์
- ชิ้นงานที่มีหน้ากว้าง แบน Fingered grippers สามารถหยิบจับชิ้นงานได้แทบทุกชนิดตราบเท่าที่ชิ้นงานมีขนาดที่พอเหมาะกับระยะห่างของนิ้วแต่ละนิ้ว ซึ่งทำให้ไม่เหมาะกับชิ้นงานที่มีหน้ากว้าง แบน (เช่นแผ่นกระจก โลหะ) ขณะที่มือจับแบบสุญญากาศจะสามารถรองรับชิ้นงานลักษณะนี้ได้
- งานที่เน้นเรื่องสุขอนามัย สาเหตุหนึ่งที่มือจับแบบสุญญากาศได้รับความนิยมในอุตสาหกรรมอาหารและยาเป็นเพราะว่าทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคได้ง่าย เปลี่ยนง่าย และทำให้ทั้งกระบวนการมั่นใจได้ในเรื่องความสะอาด
3. คุณสมบัติของถ้วยดูด ประเด็นที่คุณควรพิจารณาได้แก่
- รูปทรงของถ้วยดูดที่ต้องใช้ควรเป็นแบบใด โดยดูจากวัสดุและพื้นผิวของชิ้นงาน ทั่วไปแล้วนิยมใช้ในการหยิบจับสินค้าที่พื้นผิวที่เรียบ ลื่น และเป็นของแข็ง (เช่นวัสดุก่อสร้าง อย่างฉนวนกันความร้อน และแผ่นฝ้าหรือผนัง หรือกล่องสินค้า) แต่ก็สามารถรอบรับถุงที่รูปทรงไม่คงที่และมีพื้นผิวที่มีรูพรุ่น เช่นใช้ในการยกกระสอบในอุตสาหกรรมอาหาร
- ถ้วยดูดต้องเป็นชนิดไหน โดยทั่วไปมีสองประเภทคือ Flat Cups (แบบไม่ยุบ) กับ Bellows Cups (แบบยุบ). ถ้าใช้แบบยุบได้ ระยะยุบที่ต้องการเป็นเท่าไหร่ ระยะยุบที่มากจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและจับชิ้นงานได้นุ่มนวลขึ้น
- จำนวนถ้วยดูดที่ต้องใช้ ถึงแม้ว่ามือจับแบบสุญญากาศสามาถทำงานได้ด้วยถ้วยดูดเพียงตัวเดียว แต่ในทางปฏิบัติแล้วมักจะใช้ถ้วยดูหลายตัวพร้อมกันมากกว่าเพื่อให้สามารถกระจายน้ำหนักตลอดทั่วทั้งพื้นผิวของสินค้า ยิ่งจำนวนมาก การหยิบจับชิ้นงานขนาดใหญ่ก็ยิ่งมั่นคง
4. คุณต้องการแหล่งจ่ายลมจากภายนอกหรือไม่ แหล่งจ่ายลมจากภายนอกจะมีความจำเป็นในหน้างานที่มีลักษณะเหล่านี้
- สินค้าที่จะยกมีพื้นผิวที่มีรูพรุน เพราะพื้นผิวลักษณะนี้จะทำให้เกิดลมรั่ว ต้องอาศัยลมจากภายนอกมาช่วยต้าน
- มีวงรอบการทำงานที่สั้น เพราะแหล่งจ่ายลมจากภายนอกจะมีอัตราการไหลของอากาศที่สูงกว่า ทำให้สามารถยก และวางสินค้าได้รวดเร็วกว่า และอาจมีส่วนช่วยให้สามารถลดเวลาในวงรอบการทำงานได้
- เน้นเรื่องความปลอดภัย แหล่งจ่ายลมจากภายนอกจะสร้างแรงดูดที่สูงกว่า ทำให้การจับสินค้ามีความมั่นคงมากขึ้น
5. รูปแบบของหัวจับสุญญากาศ ในท้องตลาดมีหัวจับให้เลือกซื้อมากมายหลายแบบหรือสั่งทำตามความต้องการก็ได้ สิ่งที่จำเป็นมีเพียงข้อต่อธรรมดาๆที่คุณจะสามารถต่อท่อลมเข้าไปได้ เพื่อทำให้ระบบเหมาะสมกับงานที่ต้องทำมากที่สุด
6. การใช้สุญญากาศใน Robot Palletizer แบบไหนที่เหมาะกับลักษณะงาน
- Venturi Vacuum: ตอบสนองเร็ว มีความยืดหยุ่นในการเขียนโปรแกรม ในระบบนี้สุญญากาศจะถูกสร้างด้วยอากาศอัด ซึ่งทำให้สามารถปรับแต่งการสร้างสุญญากาศได้หลายจุด
-
Vacuum Pump: มีข้อดีในเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า (ขึ้นอยู่กับการใช้งานด้วย) แต่จะตอบสนองช้ากว่าและความยืดหยุ่นในการทำงานก็จะด้อยกว่าด้วยเช่นกัน ในระบบนี้สุญญากาศจะถูกสร้างด้วยมอเตอร์หรือปั๊ม
*สื่อโฆษณา/ชิ้นงาน ข้อความในบทความนี้ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของ บริษัท เจนบรรเจิด จำกัด ผู้ใดละเมิดจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
The commercial, including articles and artworks shown is an intellectual property of Jenbunjerd Co.,Ltd.
Unauthorized reproduction is prohibited and may subject to criminal prosecution.