EP.1 ป้องกันไว้ก่อน! หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุจากการใช้รถฟอร์คลิฟท์ได้อย่างไร? : เจนบรรเจิด (Jenbunjerd) ผู้นำด้านการผลิต จัดจำหน่าย และส่งออกอุปกรณ์จัดเก็บยกย้ายที่มีความหลากหลาย

Contact Info

  • 359 Bondstreet Rd.(Chaengwattana 33), Bangpood, Pakkred, Nonthaburi 11120 Thailand
  • info@jenbunjerd.com
  • 02-096-9898 (200 คู่สาย)
EP.1 ป้องกันไว้ก่อน! หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุจากการใช้รถฟอร์คลิฟท์ได้อย่างไร?

EP.1 ป้องกันไว้ก่อน! หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุจากการใช้รถฟอร์คลิฟท์ได้อย่างไร?

ภายในโรงงานและคลังสินค้ามักจะมีความเสี่ยงจากการทำงานเสมอ ผู้จัดการคลังสินค้ามีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลการทำงานของคลังสินค้า รวมถึงไปใช้รถฟอร์คลิฟท์ภายในคลังสินค้าด้วย วันนี้เราได้รวมรวมปัจจัยความเสี่ยงที่ควรพึงระวัง รวมทั้งแนวทางป้องกัน

รถฟอร์คลิฟท์ขาดการดูแลรักษา ไม่ว่าจะเป็นรถฟอร์คลิฟท์เก่า มีอายุหรือชั่วโมงการใช้งานที่สูงมาก ขาดการซ่อมบำรุง รวมทั้งไม่ดูแลรักษาแบตเตอรี่และน้ำกลั่น อาจก่อให้เกิดอันตรายระหว่างการใช้งานได้ แนะนำให้พิจารณาโปรแกรมบำรุงรักษาเชิงป้องกัน เพื่อให้รถอยู่สภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ หากพบว่ารถเริ่มมีอาการที่ผิดปกติ ไม่ว่าจากเสียง การสั่นสะเทือน หรือการทำงานที่ผิดปกติไปจากเดิม ควรหยุดใช้รถและแจ้งซ่อมทันที ในกรณีรถฟอร์คลิฟท์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เป็นหลัก ต้องหมั่นชาร์จให้ถูกวิธีและเติมน้ำกลั่นให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม แบตเตอรี่ที่ขาดการดูแลอาจเสื่อมไวกว่าปกติ ทำให้งานหยุดชะงักบ่อย ไม่เพียงแต่รถฟอร์คลิฟท์แต่ยังรวมถึงอุปกรณ์ขนย้ายอื่นๆ เช่น รถแฮนด์ลิฟท์ รถAGV ควรปรึกษาผู้บังคับบัญชาหรือตัวแทนจำหน่ายในการดูแลหรือซ่อมบำรุงหากเกิดปัญหาดังกล่าว

 

Tips วิธีสังเกตว่ารถฟอร์คลิฟท์เริ่มต้องการการดูแลรักษาแล้ว 

  • หยุดรถไม่อยู่หรือหยุดได้ช้า (อาจจะเกิดจากระบบเบรกสึกหรอ ไม่สมบูรณ์)
  • พวงมาลัยหนัก ไม่สามารถเลี้ยวได้ง่าย (อาจเกิดจากระบบบังคับเลี้ยวไม่สมบูรณ์)
  • อัตราเร่งที่ช้าผิดปกติ (อาจเกิดจากเครื่องยนต์หรือระบบส่งกำลังไม่สมบูรณ์)
  • เสายกช้า หรือมีการลดระดับมากผิดปกติขณะยกสินค้า (อาจเกิดจากระบบยกไม่สมบูรณ์)
  • มีน้ำมันไฮดรอลิกรั่วซึม
  • ระบบความปลอดภัยไม่ทำงาน หรือไม่เพียงพอ เช่น ไม่มีเข็มขัดนิรภัย ไฟส่องสว่างขาด ฯลฯ
  • รถมีเสียง กลิ่น หรือควันมากผิดปกติ
  • อุปกรณ์ควบคุมหรือหน้าปัด ไม่สามารถใช้งานได้สะดวกหรืออ่านได้ชัด

 

 

ใช้รถไม่เหมาะกับงาน เช่น ใช้รถฟอร์คลิฟท์ยกคนขึ้นที่สูง แล้วเกิดอุบัติเหตุสะดุดหรือลื่นจนตกลงมาได้รับบาดเจ็บสาหัส หากต้องการยกคนขึ้นที่สูง ควรเลือกใช้รถกระเช้าที่มีรั้วกั้นมิดชิด และควรใส่อุปกรณ์ป้องกันตกเสมอ อีกจุดคือการใช้รถผิดประเภทงานจนรถเสียหาย เช่นรถฟอร์คลิฟท์ที่มีหน้าที่ใช้ยกสินค้าขึ้นที่สูง แต่กลับถูกนำมาใช้ในการผลักหรือดันสินค้า จนงาบิดเบี้ยวผิดรูปและไม่สามารถใช้ตักสินค้าได้ ดังนั้นผู้ใช้งานควรศึกษาอุปกรณ์และรถก่อนนำไปใช้งานทุกครั้ง การใช้รถให้ถูกกับงานจะช่วยให้สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย และช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ด้วย

 

 

 

 

ไม่ทราบขีดความสามารถการทำงานของรถ จึงนำไปใช้ยกสินค้าที่มีน้ำหนักมากหรือเกินพิกัดของรถฟอร์คลิฟท์ เช่น ความสามารถในการรับน้ำหนัก หรือความสูงที่ยกได้ อาจทำให้รถไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากท้ายรถลอย หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อตัวรถในระยะยาว หรือเกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำได้ ดังนั้นก่อนใช้งาน ผู้ขับต้องมั่นใจว่าสินค้าที่กำลังจะยกนั้นมีน้ำหนักที่ไม่เกินพิกัดยกของรถฟอร์คลิฟท์ โดยคำนึงถึงน้ำหนักรวมทั้งหมดของสินค้าและแพลเลท ซึ่งดูได้จากแผ่นป้าย Nameplate บนตัวรถทุกครั้ง โดยจะมีระบุพิกัดยก ความสูงเสา และข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆต่อการใช้งาน หากแผ่นป้ายนี้หลุดหายไป หรืออักขระเลือนลางจนไม่สามารถอ่านได้ ควรติดต่อตัวแทนจำหน่ายเพื่อเปลี่ยนแผ่นป้ายใหม่

 

 

ทัศนวิสัยในการขับขี่ไม่ดี เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้มีโอกาสเกิดการเฉี่ยวชนได้ เช่น คนขับรถฟอร์คลิฟท์ต้องการที่จะยกสินค้าจำนวนมากๆในคราวเดียวเพื่อประหยัดเที่ยวในการวิ่งไปกลับ หรือสินค้ามีทรงสูง กว้าง ยาวมากๆ หรือวางเรียงกันสูงเกินไป จนบดบังทัศนวิสัยในการขับขี่ หรืออาจมีการติดตั้งอุปกรณ์เสริม เช่นมีการดัดแปลงทำแผงงาสูงขึ้นมา แต่ไม่ได้เจาะให้โปร่ง มองไม่เห็นด้านหน้าเพราะแผงงาทึบ (ปกติแผงงารถฟอร์คลิฟท์เป็นโครงตะแกรงโปร่ง) ดังนั้นต้องกำหนดกฎเกณฑ์ในการทำงาน เพื่อให้ขณะขับขี่ คนขับสามารถเห็นพื้นที่รอบรถได้อย่างชัดเจน แต่หากมีทัศนวิสัยที่ไม่ดี หรือจำเป็นต้องยกสินค้าที่บดบังทัศนวิสัย ควรกำหนดให้มีคนช่วยสังเกต โดยสื่อสารผ่านวิทยุ และใช้ความเร็วให้ต่ำที่สุด 

 

Tips พนักงานคลังสินค้าจะช่วยลดความเสี่ยงจากปัญหาด้านทัศนวิสัยไม่ดีได้อย่างไร 

  • พนักงานควรอยู่ห่างจากรถฟอร์คลิฟท์ให้มากที่สุด
  • พนักงานควรส่งสัญญาณให้กับคนขับอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้คนขับระมัดระวัง
  • พื้นที่ที่ใช้งานควรมีแสงสว่างที่เพียงพอและไม่มีสิ่งขีดกวาง
  • ระมัดระวังเมื่อเดินถึงทางแยก ประตู หรือพื้นที่ที่มีมุมอับ คนขับควรส่งสัญญาณเสียงทุกครั้ง
  • พนักงานสวมใส่เสื้อสะท้อนแสงเพื่อให้คนขับสังเกตเห็นได้ง่าย
  • ห้ามเดินเข้าใกล้หรือเดินลอดใต้งารถฟอร์คลิฟท์

 


ขาดอุปกรณ์ที่ช่วยในการทำงาน เช่น Attachment หรือ อุปกรณ์ยกถังน้ำมัน ที่จะช่วยให้เคลื่อนย้ายถังน้ำมันอย่างปลอดภัย 

 

 

*สื่อโฆษณา/ชิ้นงาน ข้อความในบทความนี้ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของ บริษัท เจนบรรเจิด จำกัด ผู้ใดละเมิดจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

The commercial, including articles and artworks shown is an intellectual property of Jenbunjerd Co.,Ltd.
Unauthorized reproduction is prohibited and may subject to criminal prosecution.