
EP.4 อย่างไรถึงเรียกว่า คลังสินค้า “อัจฉริยะ”?
กลไกสำคัญในการทำงานของคลังสินค้าอัจฉริยะคือ การนำระบบบริหารคลังสินค้าเข้ามาเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อกับทุกอุปกรณ์อย่างไร้รอยต่อ และถือเป็นหนึ่งในจุดสำคัญจุดแรกๆที่ต้องพิจารณาก่อนเริ่มนำระบบอื่นๆเข้ามาใช้งาน
ขั้นตอนในการดำเนินงานส่วนใหญ่เริ่มจาก
- นำระบบบริหารจัดการคลังสินค้า (WMS) เข้ามาใช้งานก่อน เพื่อให้สามารถลงข้อมูลและบริหารจัดการสินค้าทุกรายการภายในคลังสินค้าได้ นอกจากนี้ WMS ยังเป็นฐานรากสำคัญในการต่อยอดไปยังระบบอัตโนมัติอื่นๆด้วย
- นำระบบอื่นๆและอุปกรณ์สวมใส่ให้พนักงานใช้ ไม่ว่าจะเป็นแว่นอัจฉริยะ เครื่องสแกนต่างๆ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับระบบ WMS ได้
- ลงทุนในระบบหุ่นยนต์สำหรับคลังสินค้า เพื่อลดการใช้แรงงานคนสำหรับงานซ้ำซ้อน เช่น การเบิกจ่ายสินค้า ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงานคนและถือเป็นขั้นตอนที่หลายบริษัทเลือกใช้
- ลงทุนในระบบ IoT เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลจากการทำงานทุกขั้นตอน และช่วยให้การสื่อสารระหว่างระบบและอุปกรณ์เป็นไปอย่างราบรื่น
- นำระบบปัญญาประดิษฐ์เข้ามาใช้งานในการพัฒนาขั้นตอนการทำงาน ซึ่งจากข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับจากระบบเซ็นเซอร์ อุปกรณ์ต่างๆ และระบบ WMS ช่วยให้ระบบปัญญาประดิษฐ์สามารถแนะนำขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าที่เคยได้
การบริหารระบบก็เป็นอีกหนึ่งจุดสำคัญที่ถูกมองข้าม โดยเฉพาะคลังสินค้าที่มีขนาดใหญ่หรือมีอยู่หลายสาขา การเข้าถึงได้อย่างสะดวก ไม่ว่าจะจากที่ไหนหรือเวลาใด ช่วยให้ประหยัดเวลาและทรัพยากรได้ การใช้ระบบ Remote Access (เข้าถึงจากระยะไกล) รวมทั้ง Support & Control (สนับสนุนและสั่งการ) ก็เป็นอีกหนึ่งจุดที่ผู้จัดการคลังสินค้าควรพิจารณา
อนาคตของระบบคลังสินค้าอัจฉริยะ
ด้วยพัฒนาการจากคลังสินค้าแบบดั่งเดิมที่ต้องใช้พนักงานเยอะ มีขั้นตอนและความซับซ้อนมาก มาสู่รูปแบบที่ใช้ระบบอัตโนมัติในการทำงานแทนคน โอกาสในการเจริญเติบโตของคลังสินค้าอัจฉริยะนั้นยังมีอีกมาก โดยเฉพาะหลายๆองค์กรที่ต้องการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและต้องการยกระดับในการทำงาน ความแตกต่างระหว่างคลังสินค้าและโรงงานอัจฉริยะก็จะเริ่มหายไป เพราะทั้งสองระบบนั้นสามารถทำงานร่วมกันได้มากขึ้น ซึ่งในอนาคตอาจสามารถวิเคราะห์รูปแบบการสั่งซื้อของลูกค้าได้ ทำให้สามารถผลิตสินค้าตามความต้องการจริง ณ เวลาจริงได้ ระบบหุ่นยนต์ที่ทำงานร่วมกับพนักงาน ก็จะช่วยให้งานที่มีขั้นตอนซับซ้อน ทำงานได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นพัฒนาการที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และยังต้องดูต่อไปว่าจะมีมาตรฐานกลางใด มาเพื่อกำหนดวิธีการสื่อสารของระบบแต่ละระบบ รวมถึงการประมวลผลข้อมูลอีกด้วย
*สื่อโฆษณา/ชิ้นงาน ข้อความในบทความนี้ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของ บริษัท เจนบรรเจิด จำกัด ผู้ใดละเมิดจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
The commercial, including articles and artworks shown is an intellectual property of Jenbunjerd Co.,Ltd.
Unauthorized reproduction is prohibited and may subject to criminal prosecution.