
บทสุดท้ายของ COVID-19 กำลังพลิกโลกของห่วงโซ่อุปทานอย่างไร?
COVID-19 ส่งผลให้เกิดการ Shutdown ในเมืองอุตสาหกรรมทั่วประเทศจีน การลดการผลิตลงอย่างเฉียบพลันส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลนในบางกลุ่มสินค้าอย่างรุนแรงขณะที่ปริมาณความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่จะสามารถผลิตได้ ปรากฏการณ์แส้ม้า (Bullwhip effect) ครั้งนี้ทำให้ห่วงโซ่อุปทานที่ชะงักงันอยู่แล้ว แย่ลงกว่าเดิม ไม่มีหลักประกันอะไรว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้อีก แต่เราจะรับมือได้ดีขึ้นอย่างไร มาดูกันในบทสุดท้ายของ COVID-19 กำลังพลิกโลกของห่วงโซ่อุปทานอย่างไร?
ห่วงโซ่อุปทานจะหลอมรวมเข้าสู่ระบบนิเวศน์ที่มีความยืดหยุ่นสูงขึ้น
ทุกวันนี้ห่วงโซ่อุปทานมีความซับซ้อนมากขึ้นกว่าเมื่อหนึ่งถึงสองทศวรรษที่แล้ว ในทางทฤษฎีบริษัทฯแห่งหนึ่งอาจพึ่งพาซัพพลายเออร์ในหลายประเทศ แต่อย่าลืมว่าซัพพลายเออร์เหล่านั้นก็ต้องพึ่งพาชิ้นส่วนบางชิ้นจากประเทศจีน ตัวอย่างเช่น Apple Inc. ทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ใน 43 ประเทศ ซึ่งทั้งหมดได้รับส่วนประกอบจากผู้รับจ้างผลิตตามสัญญาของ Apple ในประเทศจีน เป็นต้น การชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานโลกครั้งนี้ ส่งผลต่อทุกอุตสาหกรรมจนเกิดการเพิ่มขึ้นของเรือที่บรรทุกคอนเทนเนอร์ที่ว่างเปล่า (Blank Sailings) สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยกองเรือที่ไม่มีการใช้งานนั้นเพิ่มขึ้นเป็น 2.04 ล้าน TEUs (เทียบเท่าขนาดตู้สั้น 20 ฟุต) หรือคิดเป็น 8.8% ของพื้นที่การขนส่งทางเรือทั่วโลก ซึ่งยังสูงกว่าช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินปี 2009
ผลเสียหายครั้งนี้ถือเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของวิกฤตไวรัสโคโรน่าเท่านั้น หลายฝ่ายประมาณการณ์ว่าอาจจะลากยาวไปอีก 12-18 เดือน จากวิกฤตนี้เป็นเครื่องย้ำเตือนว่า องค์กรต้องเตรียมการบริหารห่วงโซ่อุปทานในยามวิกฤตเสมอ
การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปมานในห้วงวิกฤต ผู้บริหารต้องมองเห็นภาพรวม ในบางอุตสาหกรรมอย่างการพัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์ หรือสินค้าเทคโนโลยีของ consumer รวมทั้งผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง ได้เริ่มใช้ Dashboards ซึ่งแสดงให้เห็นสถานะของการผลิตและชิปเม้นท์ทั้งหมด มีการอัพเดทข้อมูลทุก 20 นาที เพื่อให้เห็นข้อมูลที่อัพเดทตลอดเวลา การใช้ Dashboards ลักษณะนี้เดิมใช้กันอยู่ในเพียงไม่กี่อุตสาหกกรรม แต่เชื่อว่าหลังจากนี้ไป จะกลายเป็น norm ของอุตสาหกรรมอื่นๆด้วย
นอกจากนี้การใช้อุปกรณ์ที่ช่วยจำลองสถานการณ์เพื่อใช้ในพยากรณ์แนวโน้มก็จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการบริหารได้เป็นอย่างดี หากมีชิ้นส่วนใดที่สะดุดไปเพียงชิ้นเดียว ก็จะส่งผลถึงไลน์การประกอบทั้งหมด การทดสอบภาวะวิกฤต (Stress Test) จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้องค์กรสามารถจัดการความเสี่ยงต่างๆและวางแผนสำรองได้ดียิ่งขึ้น และเชื่อว่าการทดสอบภาวะวิกฤตในระบบห่วงโซ่อุปทานจะกลายเป็นแนวปฏิบัติใหม่เช่นกัน
ในอนาคตห่วงโซ่อุปทานจะเข้มแข็งอย่างแท้จริงเมื่อห่วงโซ่อุปทานจะหลอมรวมเข้าสู่ระบบนิเวศน์ที่มีความยืดหยุ่นสูงขึ้น คือเป็นห่วงโซ่ที่ซัพพลายของชิ้นส่วนต่างๆมีความสม่ำเสมอ ประสานสอดคล้องกัน และติดตามได้ในหลายภูมิภาพและผู้ขาย แต่ก็ยังสามารถรักษาระดับการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ได้ด้วย ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยแพลทฟอร์มระดับโลกที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงอย่าง 5G, robotics, IoT และ blockchain มาช่วยเชื่อมต่อผู้ขายกับผู้ซื้อจำนวนมากๆในห่วงโซ่อุปทาน
นอกจากนี้ เติบโตของธุรกิจ e-commerce ที่จะเติบโตมากขึ้นจนเกินกว่าที่จำนวนคนส่งของจะรองรับได้ไปมาก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการนำรถไร้คนขับและโดรนมาใช้ในการขนส่งมากยิ่งขึ้นจากอุปสงค์ด้านการขนส่งเพื่อตอบสนองความต้องการ เชื่อได้ว่า แพลทฟอร์ม B2B อย่าง Amazon และ Alibaba จะเดินหน้าในเรื่องนี้และแข่งขันกัน เพื่อเป็นเจ้าของระบบนิเวศน์ของห่วงโซ่อุปทานชั้นสูงนี้ในทศวรรษหน้า
บทสรุป
เรากำลังได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่แล้ว คำว่าโลกาภิวัฒน์ในรูปแบบที่เรารู้จักในโลกยุคก่อน COVID-19 กำลังจะจบลงแล้ว ทิศทางการสรรหาสินค้าจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป อนาคตต้องอาศัยการหลอมรวมกันในระดับภูมิภาค ทั้งการสรรหาที่กระจายความเสี่ยง ทีมงานที่มีความยืดหยุ่น เทคโนโลยีใหม่ และห่วงโซ่อุปทานที่ปรับตัวรับมือกับแรงปะทะได้ จากที่เห็นแล้วในวงการ healthcare ในไม่ช้าวงการอื่นๆก็จะต้องปรับตัวไปในทิศทางเดียวกันไม่ว่าเราจะต้องการหรือไม่ก็ตาม
แปลและเรียบเรียงจาก
https://www.entrepreneur.com/article/347669
https://www2.deloitte.com/global/en/pages/risk/articles/covid-19-managing-supply-chain-risk-and-disruption.html
https://www.cnbc.com/2020/03/20/coronavirus-shocks-will-lead-to-massive-global-supply-chain-shuffle.html
https://benhamouglobalventures.com/news/a-post-covid-19-outlook-the-future-of-the-supply-chain/
โดยทีมงานสื่อสารการตลาด บริษัท เจนบรรเจิด จำกัด
*สื่อโฆษณา/ชิ้นงาน ข้อความในบทความนี้ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของ บริษัท เจนบรรเจิด จำกัด ผู้ใดละเมิดจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
The commercial, including articles and artworks shown is an intellectual property of Jenbunjerd Co.,Ltd.
Unauthorized reproduction is prohibited and may subject to criminal prosecution.