
การดูแลรักษาแบตเตอรี่รถยกที่ทำได้ง่ายๆ ทำได้อย่างไรบ้าง?
ห้องชาร์จแบตเตอรี่มักจะเป็นจุดสุดท้ายในคลังสินค้าที่จะมีคนเหลียวแล เพราะส่วนใหญ่มักมีสภาพสกปรก ไม่ได้รับการดูแล และผู้ใช้งานรถอาจจะมองว่า “ไม่ใช่ปัญหาของเรา” จริงๆแล้วดูแลรักษาแบตเตอรี่รถยกเป็นงานที่องค์กรควรให้ความสำคัญ เพราะเมื่อคลังสินค้ามองข้ามการดูแลรักษาแบตเตอรี่รถยก จะส่งผลเสียต่อการทำงานในเวลาที่ต้องใช้งานรถยกมากที่สุด เราจะให้แนวทางการดูแลรักษาแบตเตอรี่รถยกที่ทำได้ง่ายๆให้กับพนักงานอย่างไร?
คลังสินค้าส่วนใหญ่กว่า 80% ไม่ได้มีการดูแลรักษาแบตเตอรี่ของรถ ไม่มีระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ที่เป็นระบบ และสำหรับหลายๆแห่งก็เป็นเรื่องยากด้วย เนื่องจากต้องรีบทำรอบการเคลื่อนย้ายสินค้าให้มากที่สุด จึงมักส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆเช่น
- แบตเตอรี่ที่ยังชาร์จไม่เต็มถูกดึงมาใช้งาน ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของรถไม่เต็มที่ หรือแบตเตอรี่หมดระหว่างทำงาน ทำให้ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ก้อนหนึ่งมีน้ำหนักมากถึง 1-2 ตัน ไม่ว่าจะใช้เครนยกหรือมีโต๊ะรองรับแบตเตอรี่ ความเสี่ยงที่จะได้รับบาดเจ็บจากการออกแรงนั้นมีอยู่ตลอดเวลา
- ต้องรอชาร์จแบตเตอรี่ก่อน เพราะลืมชาร์จและปล่อยแบตเตอรี่ทิ้งไว้จนไม่เหลือไฟ พอถึงเวลาที่ต้องรีบใช้รถยก กลับไม่สามารถทำงานได้
- เติมน้ำกลั่นเยอะไป ทำให้น้ำกรดไหลออกจากเซลล์ระหว่างการชาร์จหรือใช้งานรถ และกัดกร่อนตัวถังกับพื้นที่ทำงานหรือห้องชาร์จ เป็นอันตรายต่อทั้งตัวแบตเตอรี่และบุคคลที่อยู่ใกล้เคียง และการทำความสะอาดก็ไม่ง่ายด้วย
นี่คือผลของการปล่อยปละละเลย ซึ่งจะไม่เพียงจะส่งผลกับรถหรือเวลาการทำงานเท่านั้น แต่ยังทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่เสื่อมลงอย่างรวดเร็วอีกด้วย และอาการเสื่อมนี้ก็ไม่อยู่ในขอบเขตการรับประกันของผู้ผลิต ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายการซ่อมบำรุงหรือจัดหาแบตเตอรี่ลูกใหม่มาทดแทนเพิ่มเติม และจริงๆการซื้อแบตเตอรี่ใหม่ก็ไม่ใช่คำตอบ เพราะตราบใดที่ยังไม่ได้มีการปรับแนวทางการดูแลรักษาและชาร์จแบตเตอรี่ให้ถูกวิธี คลังสินค้าก็จะต้องพบกับปัญหาเดิมๆ
วันนี้เรามี 4 ขั้นตอนง่ายๆมานำเสนอ ไม่ว่าคุณจะเลือกใช้แบตเตอรี่หรือรถยกไฟฟ้ายี่ห้อใด ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่จะเน้นอยู่ 4 ขั้นตอนนี้เป็นหลัก
- ใช้ไฟ (Discharge)
- ชาร์จไฟ (Recharge)
- ปล่อยก๊าซ (Degas)
- เติมน้ำกลั่น (Water)
ถึงแม้ว่าจะฟังดูเหมือนง่าย และหากทำถูกต้องถูกขั้นตอน ก็จะช่วยกำจัดปัญหาจากการใช้งานแบตเตอรี่ได้ แต่กลับปฏิบัติให้สำเร็จจริงได้ยาก ถ้าไม่มีระบบติดตามที่ดี ดังนั้นการมีระบบงานบริหารจัดการแบตเตอรี่ที่ดีจึงมีความสำคัญ ระบบบริหารแบตเตอรี่จะช่วยให้คนขับรถยกสามารถเลือกใช้แบตเตอรี่ที่ชาร์จเต็มและพร้อมใช้งาน ช่วยลดความจำเป็นในการเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้มากถึง 20% ทำให้ความเสี่ยงในการเคลื่อนย้ายหรือถอดเปลี่ยนแบตเตอรี่ลดลง และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่ และลดค่าใช้จ่ายการเปลี่ยนแบตเตอรี่ลงอีกด้วย
โหลดฟรี/ เเจกฟรี ! เเบบฟอร์มติดตาม ดูเเล การทํางานของเเบตเตอร์รี่รถยก จัดทําโดยทีมงานเจนบรรเจิด
วิธีการตรวจวัดค่าโวลต์และค่าความถ่วงจำเพาะ (ถพ.) ของเซลล์แบตเตอรี่รถยก ลิงค์ https://bit.ly/2XIAy7g
โปรดติดตามบทความตอนต่อไปที่เราจะรวมเทคนิคที่ช่วยให้คุณใช้เเบตเตอรี่ให้คุ้มค่า เต็มประสิทธิภาพมานำเสนอ
แปลและเรียบเรียงจาก
https://www.mmh.com/article/is_poor_battery_maintenance_limiting_productivity
*สื่อโฆษณา/ชิ้นงาน ข้อความในบทความนี้ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของ บริษัท เจนบรรเจิด จำกัด ผู้ใดละเมิดจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
The commercial, including articles and artworks shown is an intellectual property of Jenbunjerd Co.,Ltd.
Unauthorized reproduction is prohibited and may subject to criminal prosecution.