
พบกับตอนสุดท้ายของ “เตรียมการ...ก่อนฟันธงลงทุนในระบบอัตโนมัติ”
การยกระดับคลังสินค้าสู่ระบบอัตโนมัติเป็นการตัดสินครั้งใหญ่ของหลายองค์กร ต้องพิจารณาถึงความคุ้มค่าของการของลงทุน จึงจะสามารถเดินหน้าได้อย่างมั่นใจ พบกับตอนสุดท้ายของ “เตรียมการ...ก่อนฟันธงลงทุนในระบบอัตโนมัติ”
ขั้นตอนที่ 3 พิจารณาถึงความคุ้มค่าในการลงทุนกับระบบอัตโนมัติ
ระบบอัตโนมัติมีประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพ ผลิตภาพ ความแม่นยำ การเข้าถึงข้อมูลในทุกมิติของสินค้าคงคลัง การควบคุมดูแล และเพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน ช่วยลดต้นทุน ค่าใช้จ่าย และระดับสต็อก และเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า แต่การจะเริ่มลงทุนในระบบต้องตีประโยชน์ออกมาเป็นมูลค่าที่จับต้องได้ โดยหลักๆที่องค์กรจะประหยัดขึ้นมาได้คือ ค่าแรง พื้นที่ และอุปกรณ์ต่างๆ
- ค่าแรง ค่าแรงเป็นค่าใช้จ่ายอันดับหนึ่งของคลังสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 3PL อาจสูงถึง 50% ของต้นทุนการบริหารคลังสินค้าทั้งหมด นอกจากนี้คลังสินค้าที่ใช้ระบบอัตโนมัติเป็นหลักจะมีผลิตภาพที่สูงกว่า ปลอดภัยกว่า และลดเวลาในการอบรมแรงงานได้มากกว่า ระบบอัตโนมัติช่วยให้จ่ายสินค้าไปยังพื้นที่ที่ถูกต้อง ตรงเวลา ด้วยเส้นทางที่มีประสิทธิภาพที่สุด ลดความผิดพลาดจากคนที่อาจทำให้เกิดการคอขวดขึ้นหรือทำให้สินค้าเสียหาย อย่าลืมว่าค่าแรงเป็นค่าใช้จ่ายผันแปรที่มีขึ้นลงตลอดเวลา ขณะที่ระบบอัตโนมัติเป็นการลงทุนครั้งเดียวและคืนทุนได้ในระยะเวลาไม่กี่ปี
- พื้นที่ แนวโน้มการเติบโตของธุรกิจ e-Commerce วิธีการสั่งซื้อสินค้า และความคาดหวังที่สูงขึ้นของลูกค้า ทำให้องค์กรต้องพิจารณาวิธีการบริหารจัดการคลังสินค้าให้รองรับกับธุรกิจที่ขยายตัว เมื่อมีปริมาณสินค้าคงคลังและออเดอร์ที่สูงขึ้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องลงทุนเพิ่มพื้นที่คลังที่ด้วย คำถามสำคัญคือ จะขยาย ย้ายคลัง หรือรวมศูนย์ การนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในพื้นที่ทำงานเดิมสามารถช่วยเพิ่มพื้นที่จัดเก็บได้มากขึ้นถึง 30-50% ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า
- อุปกรณ์ การใช้รถ AGVs และระบบอัตโนมัติในงานที่ซ้ำซ้อนหรืองานประจำจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและไม่เกิดกระบวนการที่เยิ่นเย้อ รถขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ (AGVs) ยังสามารถทำงานได้ 2 กะ หรือสูงสุดถึง 24 ชม.ได้โดยไม่ต้องชาร์จ และด้วยระบบความปลอดภัย ยังสามารถช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น ลดอุบัติเหตุ และค่าใช้จ่ายในการดูแลพนักงานที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน
ลองคำนวณดู!
มีหลากหลายวิธีที่สามารถช่วยคิดคำนวณมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value หรือ NPV) และอัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return หรือ IRR) ในการเปลี่ยนระบบการทำงานได้ คุณสามารถใช้วิธีคิดลดกระแสเงินสด (Discounted Cash Flow หรือ DCF) แทนการคิดการคืนทุนภายในรวดเดียว (Straight Payback Method) วิธีคิดนี้จะช่วยให้คุณสามารถเห็นถึงความแตกต่างของค่าใช้จ่ายเบื้องต้นระหว่างการใช้ระบบอัตโนมัติกับระบบดั้งเดิม และนำส่วนต่างนั้นมาชดเชยเงินลงทุนเบื้องต้นได้
บทสรุป
ในคลังสินค้าเต็มไปด้วยโอกาสนับไม่ถ้วนที่จะปรับปรุงกระบวนการทำงานและลดต้นทุนได้ แต่คุณควรทำอย่างมีกลยุทธ์ โดยต้องดูสถานะของคลังสินค้าก่อน หากนี่เป็นครั้งแรกที่คุณจะนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้งาน อาจจะเริ่มจากงานที่ไม่ได้ยากเกินไปเข้ามาปรับปรุงระบบงานก่อน เมื่อสำเร็จแล้ว จึงสามารถเดินหน้าไปสู่การใช้ระบบอัตโนมัติที่ใหญ่ขึ้น
เพราะไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวสำหรับแต่ละคลังสินค้า หากคุณต้องการที่ปรึกษาเพื่อยกระดับคลังสินค้าสู่ระบบอัตโนมัติ ติดต่อได้ที่ฝ่ายขายระบบคลังสินค้าอัตโนมัติและชั้นวางสินค้า 02-096-9898 ต่อ 1303 & 1504 หรือ wa@jenbunjerd.com
*สื่อโฆษณา/ชิ้นงาน ข้อความในบทความนี้ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของ บริษัท เจนบรรเจิด จำกัด ผู้ใดละเมิดจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
The commercial, including articles and artworks shown is an intellectual property of Jenbunjerd Co.,Ltd.
Unauthorized reproduction is prohibited and may subject to criminal prosecution.