
เคล็ดลับการจัดเส้นทางเบิกจ่ายในคลังสินค้ามีอะไรบ้าง อ่านต่อ...
การปูทางไปสู่ระบบอัตโนมัติเป็นขั้นตอนที่องค์กรควรให้ความสนใจ การทำ workflow ให้เป็นระบบอัตโนมัติ คือก้าวแรกของการไปสู่คลังสินค้าอัตโนมัติแบบเต็มรูปแบบ เป็นการปรับเปลี่ยนที่ลงทุนน้อย ง่าย และเร็วเพื่อลดขั้นตอนที่ไม่เกิดประสิทธิภาพ ทำให้กระบวนงานกระชับฉับไว ทุกความเคลื่อนไหวเกิดประโยชน์สูงสุด ตอนนี้เราจะมายกตัวอย่างของการ Optimize เส้นทางการเดินไปเบิกจ่าย
สำหรับคลังสินค้าส่วนใหญ่ ค่าแรงคือค่าใช้จ่ายก้อนที่ใหญ่ที่สุด บางแห่งสูงถึง 70% โดยในจำนวนนั้นเป็นงานเบิกจ่ายและบรรจุหีบห่อถึง 50% ความสูญเปล่าจากการเคลื่อนไหว (Motion Waste) ก็เป็นต้นทุนแฝงที่ใหญ่มากเรื่องหนึ่ง เป็นการเคลื่อนที่ของแรงงานภายในคลังสินค้าที่ไม่เกิดประสิทธิภาพ เมื่อแรงงานเดิน 10 ก้าวเพื่อทำงานชิ้นหนึ่งทั้งที่จริงๆแล้วสามารถทำได้ใน 3 ก้าวเท่านั้น ถือเป็นความสูญเสีย ซึ่งปัญหานี้ไม่ได้มาจากแรงงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ แต่มาจากกระบวนการที่ไม่ได้ประสิทธิภาพต่างหาก จึงเป็นหน้าที่ของผู้จัดการคลังสินค้าที่จะสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานและออกแบบกระบวนการที่เอื้อให้แรงงานทำงานได้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
การ Optimize เส้นทางการเดินไปเบิกจ่ายก็เป็นทางหนึ่งที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ โดยต้องเริ่มจากการศึกษา layout คลังสินค้าและเส้นทางการเบิกจ่ายปกติ จากนั้นจึงค่อยออกแบบเส้นทางใหม่ที่กระชับรวดเร็วขึ้น และคลังสินค้าหลายแห่งได้นำเทคโนโลยีมาช่วยในเส้นทางการเบิกจ่าย เช่น smartphone ที่นอกจากจะมีรายการสินค้าที่ต้องเบิกจ่ายแล้ว ยังช่วยกำหนดเส้นทางที่จะเดินไปหยิบของชิ้นถัดไป โดยอิงจากตำแหน่งที่คนงานกำลังยืนอยู่
คลังสินค้าบางแห่งใช้วิธีที่ทรงพลังและเป็นที่นิยมอันหนึ่งมาใช้ในการหาเส้นทางที่ดีที่สุด ด้วยขั้นตอนวิธีหาค่าเหมาะสมที่สุดด้วยระบบอาณาจักรมด (Ant Colony Optimization) วิธีการนี้ได้ชื่อมาจากพฤติกรรมของมด โดยในตอนแรกจะมีมดเพียงไม่กี่ตัวออกจากรังเพื่อหาอาหาร และกระจายตัวออกไปในทิศทางต่างๆอย่างไม่มีแบบแผน แต่จะหลั่งสารฟีโรโมนไว้ตามเส้นทางที่เดินเพื่อให้มดตัวอื่นเดินตามได้ หากค้นพบแหล่งอาหารซึ่งจริงๆอาจจะเป็นจุดเดียวกัน จะมีปริมาณฟีโรโมนอยู่บนเส้นทางที่เร็วที่สุดมากกว่าเส้นทางอื่น เมื่อมดออกจากรังมากขึ้นๆผ่านเส้นทางที่เร็วที่สุดเพื่อไปยังแหล่งอาหาร ทำให้กระบวนการขนอาหารกลับรังทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ผู้จัการคลังสินค้าก็สามารถใช้หลักการเดียวกันนี้กับการวางเส้นทางเบิกจ่ายได้ โดยในตอนแรกให้คนงานออกเดินไปยังเป้าหมายในทิศทางต่างๆและจับเวลาการเดิน คนที่เดินในเส้นทางที่ดีที่สุดจะทำงานได้จบก่อน ในทางกลับกัน การ Optimize เส้นทางก็ใช้ได้กับกระบวนการรับของเข้าด้วย โดยการ Optimize เส้นทางรับของเข้าคลังก็จะส่งผลดีต่อภาพรวมของงานบริหารคลังสินค้าด้วย เช่นสินค้าได้รับการจัดเข้าที่เร็วขึ้น ลดโอกาสการโจรกรรม เสียหาย หรือสูญหายจากการถูกทิ้งไว้ที่พื้นที่รับของนานเกินไป และเส้นทางการรับเข้าที่รวดเร็ว ตอนเบิกจ่ายก็จะเร็วตามไปด้วยเช่นกัน
พบกับตอนสุดท้ายของ”เตรียมการ…ก่อนฟันธงลงทุนในระบบอัตโนมัติ EP.4” ในขั้นตอนที่ 3 พิจารณาถึงความคุ้มค่าในการลงทุนกับระบบอัตโนมัติ ตอนต่อไป
*สื่อโฆษณา/ชิ้นงาน ข้อความในบทความนี้ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของ บริษัท เจนบรรเจิด จำกัด ผู้ใดละเมิดจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
The commercial, including articles and artworks shown is an intellectual property of Jenbunjerd Co.,Ltd.
Unauthorized reproduction is prohibited and may subject to criminal prosecution.