
ระบบอัตโนมัติสร้างโอกาสการเพิ่มประสิทธิภาพและการลดต้นทุนอย่างไร?
การยกระดับคลังสินค้าสู่ระบบอัตโนมัติเป็นการลงทุนครั้งใหญ่ของหลายองค์กร ต้องพิจารณาทั้งงบประมาณและระยะเวลาการดำเนินการ ก่อนจะไปถึงจุดนั้น ควรเริ่มจากพื้นฐานคือเรียงลำดับความสำคัญว่าจะเริ่มใช้ระบบอัตโนมัติในส่วนงานใดก่อนที่จะเกิดผลที่ชัดเจนที่สุด และลดความเสี่ยงกับการลงทุนมากๆในครั้งเดียว พบกับตอนที่ 2 ของ “เตรียมการ...ก่อนฟันธงลงทุนในระบบอัตโนมัติ”
ขั้นตอนที่ 2 เรียงลำดับความสำคัญว่าจะเริ่มใช้ระบบอัตโนมัติในส่วนงานใดก่อน
ระบบอัตโนมัติสร้างโอกาสการเพิ่มประสิทธิภาพและการลดต้นทุนในหลายๆมิติ ระดับ ขนาด และงบประมาณ แต่โครงการคลังสินค้าอัตโนมัติแบบเต็มรูปแบบมีมูลค่ามหาศาล อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าองค์กรของคุณไม่ใช่องค์กรระดับโลก ก็ไม่ได้แปลว่าจะไม่สามารถเอื้อมถึงระบบอัตโนมัติได้ และอันที่จริงแล้วก็ไม่ควรจะลงทุนสูงเกินตัวเทียบเท่ากับบริษัทขนาดใหญ่ แต่ควรจะเน้นที่ส่วนงานที่จะลดต้นทุนได้มากที่สุดก่อน โดยพิจารณาว่าส่วนงานนั้นสามารถนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ได้หรือไม่
ก่อนอื่นต้องหาให้เจอว่ากระบวนงานใดที่ทำซ้ำๆ และมีการเคลื่อนย้ายสินค้าและใช้ทรัพยากรต่างๆเกินความจำเป็น ซึ่งสามารถตัด ลด หรือเปลี่ยนวิธีการทำงานที่จะเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง ใช้แรงงานน้อยลง แม่นยำมากขึ้น ในระยะเวลาที่สั้นลง และเริ่มจากตรงนั้นก่อน เมื่อผ่านเฟสแรกและการลดต้นทุนเห็นผลจริง จึงค่อยดำเนินการกับเฟสรองๆลงมา คุณสามารถนำบทเรียนจากการทำเฟสแรกมาช่วยให้การทำเฟสที่สองราบรื่นขึ้นด้วย
ระบบคลังสินค้าอัตโนมัติไม่ได้มีเพียงระบบเดียว คำถามสำคัญในขั้นตอนนี้คือ จุดประสงค์หลักของคุณคืออะไร ต้องการแก้ไขปัญหาใดก่อน ข้อเสนอแนะต่อไปนี้น่าจะช่วยให้คุณลำดับความสำคัญได้ง่ายขึ้น
- เพิ่มตัวช่วยในคลังสินค้าเดิม การนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในคลังสินค้าเดิมจะช่วยให้คุณสามารถขยายพื้นที่การจัดเก็บได้โดยไม่ต้องขยายคลังสินค้า นอกจากจะช่วยประหยัดค่าก่อสร้างอาคารใหม่แล้ว คุณยังจะได้ประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้น บริหารสินค้าคงคลังได้อย่างแม่นยำ และช่วยลดขั้นตอนงานที่ไม่จำเป็นออก อย่างเช่นการนำระบบจัดเก็บและเบิกจ่ายอัตโนมัติ (AS/RS) หรือ รถขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ (AGVs) เข้ามาใช้ จะช่วยลดการใช้พื้นที่ลงได้มากถึง 50% และสามารถคืนทุนได้รวดเร็วกว่าเมื่อเทียบกับการสร้างคลังสินค้าใหม่ ในแง่มุมของการรักษาสิ่งแวดล้อม คุณยังสามารถลด carbon footprint และค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้ด้วยการนำระบบอัตโนมัติที่สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องอาศัยแสงสว่าง
- นำระบบเบิกจ่ายที่ทันสมัยเข้ามาใช้งาน ยกตัวอย่าง
- ระบบเบิกจ่ายแบบ Real-time ทั้งแบบภาพหรือเสียง (Real-time Visual & Voice-based Solutions)ช่วยให้พนักงานเบิกจ่ายสินค้าได้อย่างแม่นยำ หมดกังวลเรื่องสินค้าขาดส่ง
- Carton Flow Rack ช่วยลดการใช้พื้นที่และประหยัดเวลาเดินของพนักงาน
- ยกระดับระบบบริหารคลังสินค้า (WMS) ทุกโปรแกรมย่อมมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา อย่างโปรแกรม WMS ก็มีการเพิ่มคุณสมบัติใหม่ๆอยู่เสมอ การทนใช้โปรแกรมเวอร์ชั่นเก่า หรือไม่ลงทุนในการอัพเกรดอาจทำให้คุณพลาดโอกาสในการพัฒนาระบบงานจากเทคโนโลยีและโปรแกรมใหม่ๆที่มีความเสถียรมากกว่า
- บริหารคลังสินค้าแบบรวมศูนย์ การจัดการแบบรวมศูนย์จะช่วยลดการพึ่งแรงงาน ลดการใช้พลังงาน ลดค่าใช้จ่ายและภาระงานการขนส่งสินค้าไปมาจากต่างพื้นที่ ทำให้การทำงานรวดเร็วมากยิ่งขึ้น (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละองค์กร อ่านเพิ่มเติมได้จากบทความ “ระบบคลังสินค้าแบบรวมศูนย์ vs ระบบคลังสินค้าแบบกระจายคลังย่อย”
- ปรับกระบวนการทำงานในส่วนงานที่เป็นเป้าหมายหลัก ให้มีความเป็นอัตโนมัติในเชิงกระบวนการ ก่อนเข้าสู่การนำอุปกรณ์อัตโนมัติเข้ามาใช้งาน (ติดตามได้ในตอนต่อไป)
*สื่อโฆษณา/ชิ้นงาน ข้อความในบทความนี้ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของ บริษัท เจนบรรเจิด จำกัด ผู้ใดละเมิดจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
The commercial, including articles and artworks shown is an intellectual property of Jenbunjerd Co.,Ltd.
Unauthorized reproduction is prohibited and may subject to criminal prosecution.