
สิ่งที่ควรรู้ก่อนจะลงทุนในระบบอัตโนมัติมีอะไรบ้าง มาดูกัน
การเติบโตของธุรกิจ e-Commerce ความคาดหวังของลูกค้าที่เพิ่มสูงขึ้น และความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของห่วงโซ่อุปทานทำให้งานบริหารคลังสินค้ามีความท้าทายมากขึ้น หากคุณตัดสินใจแล้วว่าต้องใช้ระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร เรามีแนวทางมานำเสนอ
หากคุณตัดสินใจแล้วว่าต้องใช้ระบบอัตโนมัติ สิ่งสำคัญคือการเตรียมการก่อนจะฟันธงเพื่อลงทุนในระบบอัตโนมัติ โดยเริ่มจาก 3 ขั้นตอนนี้
ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน เช่น โครงสร้างเดิมของคลังสินค้า จำนวน SKU และปริมาณสินค้า อัตราความเร็วของสินค้าเข้า-ออก ข้อมูลพื้นฐานนี้เป็นสำคัญต่อการพิจารณาลำดับถัดไป
ขั้นตอนที่ 2 เรียงลำดับความสำคัญว่าจะเริ่มใช้ระบบอัตโนมัติในส่วนงานใดก่อน
ขั้นตอนที่ 3 พิจารณาถึงความคุ้มค่าในการลงทุนกับระบบอัตโนมัติ
ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์พื้นฐาน
ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใช้ระบบอัตโนมัติแบบใด ลองดูคำถาม 5 นี้ก่อน
- จำนวนสินค้าที่ต้องจัดเก็บต่อปีเป็นเท่าไหร่ โดยดูจำนวนแพลเลทที่จะจัดเก็บ ระบบอัตโนมัติจะคุ้มค่าเมื่อมีปริมาณการจัดเก็บตั้งแต่ 500 แพลเลทขึ้นไป
- จำนวน SKU และปริมาณสินค้า ว่ามีจำนวนรุ่น ขนาด สี จำนวนบรรจุที่แตกต่างกันทั้งหมดเท่าไหร่
- จากจำนวน SKU ทั้งหมด มีกี่ SKU ที่ขายดี หรือ มีปริมาณการจัดเก็บมากกว่ารายการอื่นๆ? ในคลังสินค้าส่วนใหญ่ ปริมาณสินค้าที่จัดเก็บกว่า 80% มาจาก SKU เพียง 20% นั้น จึงควรพิจารณาจากปริมาณสินค้าที่ขายดีก่อน เพราะจะทำให้สามารถตัดสินใจเรื่องความลึกของพื้นที่จัดเก็บ และปรับปรุงการจัดการพื้นที่สำหรับสินค้าขายดีได้ดีขึ้น
- จำนวนสินค้าที่เข้า-ออกจากคลังสินค้าต่อชั่วโมงมีปริมาณเท่าไหร่ จำนวนสินค้าเข้า-ออกจะมีผลต่อการเลือกใช้อุปกรณ์จัดเก็บและเบิกจ่าย Storage and Retrieval Machines (SRM หรือ Stacker Crane ที่ใช้งานร่วมกับ AS/RS) ที่เหมาะสม และหากสินค้าเข้า-ออกต่ำกว่า 20-30 แพลเลทต่อชั่วโมง ระบบอัตโนมัติอาจไม่ใช่คำตอบของคุณ
- ชั่วโมงการทำงาน หรือจำนวนกะมีปริมาณเท่าไหร่ ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานต่อเนื่องกันจะเป็นตัวบอกว่าจะคืนทุนจากระบบอัตโนมัติได้รวดเร็วแค่ไหน และหากจำนวนกะมากกว่า 2 กะขึ้นไป การใช้ระบบอัตโนมัติจึงถือว่าคุ้มค่า
ประเด็นอื่นๆที่ควรพิจารณา
- ช่องทางวิ่ง ในคลังสินค้าทั่วไปจะเว้นช่องทางวิ่งสำหรับรถยกประมาณ 3.3 เมตร แต่ปัจจุบันรถที่ใช้ระบบ Rail Guide ช่วยลดการใช้พื้นที่ให้เหลือเพียงประมาณ 1.6 เมตร ทำให้เหลือพื้นที่ตั้งชั้นวางได้มากขึ้น
- อัตราความเร็วของสินค้าเข้า-ออก แทนที่จะจัดกลุ่มสินค้าโดยแยกเป็นประเภทเดียวกัน ควรจัดกลุ่มโดยดูจากอัตราความเร็วของสินค้าเข้า-ออกแทน เพื่อการนำสินค้าขายดีเข้าออกจากคลังสินค้าได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
- ระยะทางในการจัดเก็บและเบิกจ่าย การมีพื้นที่จัดเก็บมากไม่ได้แปลว่าจะสามารถจัดเก็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ บางครั้งการขยายพื้นที่คลังสินค้ากลับทำให้เสียเวลาการเคลื่อนย้ายสินค้ามากขึ้นถึง 2-3 เท่า
- พื้นที่ที่ยังไม่ถูกใช้งานอย่างคุ้มค่า ให้พิจารณาดูว่ามีการเก็บสินค้าเคลื่อนไหวช้าหรือไม่เคลื่อนไหวเป็นปริมาณเท่าไหร่ และพื้นที่จัดเก็บสินค้าค้าดังกล่าวรวมทั้งพื้นที่โดยรอบว่าจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อย่างไร
หากคุณได้พิจารณาแง่มุมต่างๆข้างต้นแล้ว จึงไปสู่ขั้นตอนต่อๆไป โปรดติดตามตอนต่อไปในครั้งหน้า
*สื่อโฆษณา/ชิ้นงาน ข้อความในบทความนี้ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของ บริษัท เจนบรรเจิด จำกัด ผู้ใดละเมิดจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
The commercial, including articles and artworks shown is an intellectual property of Jenbunjerd Co.,Ltd.
Unauthorized reproduction is prohibited and may subject to criminal prosecution.